วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2561

กิจกรรมท้ายบท





1. สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่อง นิยาม ความหมาย : ทฤษฎีหลักสูตร ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร
                ความหมายทฤษฎี  ทฤษฎี (Theory)” มาจากภาษากรีกว่า Theoria หมายความว่า การตื่นตัวของจิตใจ ดังนั้นทฤษฎีเป็นลักษณะของการมองความจริงอันบริสุทธิ์
                 ราชบัณฑิตยสถาน (2542: 504) ให้ความหมายคำว่า ทฤษฎีหมายถึง ความเห็น การเห็นด้วยใจ ลักษณะที่คิดคาดเอาตามหลักวิชา เพื่อเสริมเหตุผลและรากฐานให้แก่ปรากฏการณ์หรือข้อมูลในภาคปฏิบัติ ซึ่งเกิดขึ้นมาอย่างมีระเบียบ
               แคปแลน (Kaplan, A. 1964) กล่าวไว้ว่า ทฤษฎีเป็นแนวทางที่ช่วยให้เข้าใจสถานการณ์ที่ทำให้วิตกกังวลด้วยการกระทำอย่างมีประสิทธิผลในการทำความเข้าใจจากปรากฏการณ์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การละทิ้งหรือปรับเปลี่ยนสถานการณ์ต่างๆ เข้าด้วยกันและทดแทนด้วยสถานการณ์ใหม่ที่ต้องการ   
            ทฤษฎี(Theory) หมายถึง หลักการที่ผ่านการพิสูจน์แล้ว และกำหนดขึ้นมาเพื่อจะได้ทำหน้าที่อธิบายการกระทำหรือปรากฏการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง(อาภรณ์ ใจเที่ยง.2525:1 อ้างถึงใน รศ.ดร.ประพิมพ์พรรณ โชคสุวัฒนสกุล.หลักสูตรมัธยมศึกษา.2534:34)
            ความหมายของทฤษฎีหลักสูตร  ทฤษฎีหลักสูตร (Curriculum Theory) หมายถึง ข้อความที่อธิบายความหมายของหลักสูตรโดยชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ชี้นำแนวทางการพัฒนาการใช้และการประเมินผลหลักสูตรประกอบกัน
            ทฤษฎีหลักสูตรชนิดต่างๆ
ทฤษฎีหลักสูตรแบ่งออกเป็น 4 ชนิด ดังนี้
1.ทฤษฎีแม่บท เป็นทฤษฎีหลักที่กล่าวถึงหลักการ กฎเกณฑ์ทั่วๆไป ตลอดจนโครงสร้างของหลักสูตร
2.ทฤษฎีเนื้อหา เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับเนื้อหา กล่าวถึงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ
3.ทฤษฎีจุดประสงค์ เป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงจุดประสงค์หรือจุดมุ่งหมายของหลักสูตร และกล่าวถึงว่าจุดประสงค์นั้นๆได้อย่างไร
4.ทฤษฎีดำเนินการ เป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงว่า จะทำหรือดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้อย่างไร (กาญจนา คุณารักษ์.2527:5 อ้างถึงใน โกสินทร์ รังสยาพนธ์.2526:25)
            ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตรของ  Hilda Taba
ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตรของ Hilda Taba เป็นทฤษฎีที่ช่วยให้เราเข้าใจถึงองค์ประกอบและส่วนประกอบด้านต่างๆ ที่สำคัญของหลักสูตร ที่หลอมรวมกันเป็นหลักสูตรคุณภาพที่ใช้ในการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพ ดังนั้นถ้าต้องการให้หลักสูตรเป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ผู้ใช้ควรนำแนวทางนั้นไปทดลองและปรับใช้ในการเรียนการเรียนการสอนให้เห็นจริง จึงจะส่งผลให้หลักสูตรนั้นกลายเป็นหลักสูตรที่สมบูรณ์ และเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย
            ในการศึกษารูปแบบ หรือทฤษฎีการวางแผน หรือพัฒนาหลักสูตร จะพบว่ามีคำหลายคำที่มีความหมายคล้ายคลึงกัน และสามารถใช้แทนกันได้ ได้แก่ Curriculum – Planning, Curriculum Development, Curriculum Construction, Curriculum – lmprovement, และ Curriculum Revision มีความหมายแตกต่างกันดังนี้   Curriculum – Planning หมายถึง กระบวนการในการสร้างหลักสูตร กล่าวถึงหลักสูตรในรูปสิ่งที่ คาดหวัง หรือที่เป็นแผนอย่างหนึ่ง  Curriculum Development หมายถึง การสร้าง Curriculum Materials รวมทั้งสื่อการเรียนที่นักเรียนใช้ ไม่ใช่การวางแผนหลักสูตรแต่จะเป็นผลที่เกิดจากการวางแผนหลักสูตร CurriculumConstruction และ Curriculum Revision เป็นคำที่ใช้มาแต่ดั้งเดิมหมายถึง การเขียนและการปรับปรุงรายวิชาที่ศึกษาCurriculum – lmprovement หมายถึง การปรับปรุง หรือการวางแผนหลักสูตรในส่วนที่เป็นเป้าประสงค์มากกว่าที่หมายถึง กระบวนการในการวางแผนหรือพัฒนาหลักสูตร ทฤษฎีเกี่ยวกับวิชาและเนื้อหาวิชาที่จะนำไปสอน

2. ศึกษาทำความเข้าใจเพิ่มเติมจาก สุเทพ อ่วมเจริญ  การพัฒนาหลักสูตร : ทฤษฎีและการปฏิบัติ การพัฒนาหลักสูตร : ทฤษฎีหลักสูตร
            การพัฒนาหลักสูตร:ทฤษฎีและการปฏิบัติ
 เป็นตำราที่มุ่งเน้นกระบวนการที่ช่วยในการกำหนดจุดหมายของการศึกษา พร้อมทั้งแนวทางในการจัดกิจกรรมการศึกษา ผู้เขียนได้เรียบเรียงตามกระบวนการพัฒนาหลักสูตร การวางแผนหลักสูตร การออกแบบหลักสูตร การจัดระบบหลักสูตรและการประเมินหลักสูตร
โดยนำแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตรและปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรมารวบรวมเป็นความรู้ในวิชาการพัฒนาหลักสูตรเพื่อเป็นแนวทางนำไปปฏิบัติได้
ภายในตำราได้แยกหมวดหมู่ไว้ จำนวน5บท ประกอบด้วย                                                       
บทที่1 การพัฒนาหลักสูตร  นิยาม  แบบจำลองและทฤษฎีหลักสูตร
บทที่2 การวางแผนหลักสูตร
บทที่3 การออกแบบหลักสูตร
บทที่4 การจัดระบบหลักสูตร
บทที่5 การประเมินหลักสูตร
        ซึ่งในแต่ละบทนั้นมีการยกวิธี  การขั้นตอน  แนวคิดและแบบจำลองในการพัฒนาหลักสูตรของนักทฤษฎีสำคัญทางการศึกษาไว้ด้วย อาทิเช่น ไทเลอร์  ทาบา  เซเลอร์ อเล็กซานเดอร์และเลวีส โอลิวา หรือนักทฤษฎีทางการศึกษาของไทยอย่างวิชัย วงษ์ใหญ่ไว้อีกด้วย
       มีเรื่องการวางแผนพัฒนาและแนวคิดในการวางแผนหลักสูตร เรื่องหลักการ  การกำหนดคุณลักษณะและแนวคิดในการออกแบบหลักสูตรต่างๆ รวมถึงแนวคิดในการจัดระบบ การนำหลักสูตรใช้  หลักการทางจิตวิทยาสำหรับการเรียนรู้และหลักการส่งเสริมความเป็นเลิศในการเรียนรู้และการสอนด้วยศาสตร์และศิลป์ อีกทั้งกลยุทธ์ วิธีการต่างๆ เช่น กลยุทธ์การเรียนรู้แบบบูรณาการ การประเมินความรู้เพื่อพัฒนาวิชาชีพ
     จวบจนขั้นตอนการประเมินหลักสูตร(curriculum evaluation) ให้ทราบถึงการนิยามการประเมินหลักสูตร แนวคิดการประเมิน ประเมินความก้าวหน้า ประเมินผลสรุป ประเมินก่อน ระหว่างและหลังการนำหลักสูตรไปใช้เพื่อการพัฒนาตน
      ผู้เขียนอกจากจะรวบรวมหลักการ แนวคิด แบบจำลองทฤษฎีของนักการศึกษาที่สำคัญระดับโลกแล้ว ผู้เขียนยังสร้างรูปแบบและหลักการอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการศึกษาอีกด้วย
ทั้งนี้ขอยกตัวอย่างขั้นตอนรวม  วิธีการและการบรรยายความหมายของกระบวนการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิด su model โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุเทพ อ่วมเจริญ
สรุปการศึกษาค้นคว้า เรื่อง ทฤษฎีหลักสูตร
  ทฤษฎีหลักสูตร จะช่วยให้การบริหารงานเกี่ยวกับหลักสูตรมีคุณค่า มีหลักเกณฑ์ มีหลักการ มีระบบมากยิ่งขึ้น เช่น การสร้างหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตร การใช้หลักสูตร การประเมินหลักสูตร การจัดบุคลากรเกี่ยวกับหลักสูตร และการทำให้องค์ประกอบของหลักสูตร ที่จะนำไปใช้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในหัวข้อต่อไปนี้
1.  ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับหลักสูตร(Actors)
            1.1  นักวางแผนหลักสูตร
            1.2  ครู
            1.3  ผู้เรียน
            1.4  ผู้บริหาร
            1.5  ผู้นิเทศการศึกษา
            1.6  บุคคลที่สนใจทั่วไป
2.  หลักสูตร(Artifact)
            2.1  เนื้อหา
            2.2  วัสดุประกอบการสอน
            2.3  เครื่องอำนวยความสะดวก
            2.4  วิธีสอน
3.  การปฏิบัติ(Operation)
            3.1  การนำหลักสูตรไปใช้
            3.2  การประเมินหลักสูตร
สันต์  ธรรมบำรุง.(2527).หลักสูตรและการบริหารหลักสูตร.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา.

อ้างอิงจาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น