วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2561

กิจกรรมท้ายบท



1.  สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่อง  ประเภทของหลักสูตร การออกแบบหลักสูตร
                ประเภทของหลักสูตร
หลักสูตรบูรณาการ
เป็นหลักสูตรที่พัฒนามาจากหลักสูตรกว้างโดยนำเอาเนื้อหาของวิชาต่างๆ มาหลอมรวม ทำให้ความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละวิชาหมดไป
ลักษณะของหลักสูตรบูรณาการที่ดี
1.  บูรณาการระหว่างความรู้และกระบวนการเรียนรู้ อาจใช้วิธีการถ่ายทอดความรู้อย่างง่ายๆ เช่น การบอกเล่า การบรรยาย และการท่องจำ
2.   บูรณาการระหว่างพัฒนาการทางความรู้และพัฒนาการทางจิตใจ คือมุ่งในด้านพุทธิพิสัย อันได้แก่ความรู้ ความคิด และการแก้ปัญหา มากกว่าด้านจิตพิสัย คือ เจตคติ ค่านิยม ความสนใจ และความสุนทรียภาพ
3.  บูรณาการระหว่างความรู้และการกระทำ การสร้างสหสัมพันธ์ระหว่างความรู้และการกระทำมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าระหว่างความรู้และจิตใจ โดยเฉพาะในด้านจริยศึกษา การเรียนรู้เรื่องค่านิยมและการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถในการเลือกค่านิยมที่เหมาะสม
4.   บูรณาการระหว่างสิ่งที่เรียนในโรงเรียนกับสิ่งที่เป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้เรียนสิ่งหนึ่งที่จะพิสูจน์ว่าหลักสูตรดีหรือไม่ดี
5.  บูรณาการระหว่างวิชาต่างๆ นำเอาเนื้อหาของวิชาหนึ่งมาเสริมอีกวิชาหนึ่ง เพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้และเกิดเจตคติตามที่ต้องการ โดยอาศัยเนื้อหาของหลายๆ วิชา มาช่วยในการแก้ปัญหานั้น
            รูปแบบของบูรณาการ
1. บูรณาการภายในหมวดวิชา เป็นการสอดคล้องกับแนวความคิดของหลักสูตรที่ว่าการเรียนรู้ต้องมีลักษณะเป็นสหวิทยาการ
2.  บูรณาการ ภายในหัวข้อ และโครงการคือการนำเอาความรู้ ทักษะและประสบการณ์ ของวิชาหรือหมวดวิชาตั้งแต่สองวิชาหรือหมวดวิชาขึ้นไปมาผสมผสานกันในลักษณะที่เป็นหัวข้อหรือโครงการ
3. บูรณาการโดยการผสมผสานปัญหาและความต้องการของผู้เรียนและของสังคม ผู้เรียนจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้จากวิทยาการต่างๆหลายสาขา รวมทั้งมีทักษะที่จำเป็นเพื่อที่จะแก้ปัญหาสิ่งที่ปรากฎชัดใน        การเรียนรู้ได้
หลักสูตรกว้าง
          มีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมการเรียนการสอนให้เป็นที่น่าสนใจและเร้าใจ ช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและสามารถปรับตนให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมได้เป็นอย่างดี รวมทั้งให้มีพัฒนาการในด้านต่างๆ ทุกด้าน




            พัฒนาการ/วิวัฒนาการหลักสูตร
หลักสูตรกว้างเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ โดยวิชาที่สอนนี้กล่าวถึงแผ่นดินแถบลุ่มแม่น้ำเทมส์และกิจกรรมต่างๆของประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นแผ่นดินนั้น เป็นการนำเอาเนื้อหาของวิชาต่างๆ หลายวิชามาศึกษาในเวลาเดียวกัน
          สหรัฐอเมริกาเริ่มนำเอาหลักสูตรนี้มาใช้ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1914 จัดทำเป็นวิชากว้างๆ เรียกว่าสถาบันสังคมและเศรษฐกิจ
          ประเทศไทยได้นำหลักสูตรมาใช้ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2503 โดยเรียงลำดับเนื้อหาต่างๆที่มีความคล้ายคลึงกันไว้ในหลักสูตรและให้ชื่อวิชาเสียใหม่ให้มีความหมายกว้าง ครอบคลุมวิชาที่นำมาเรียงลำดับไว้
            ลักษณะสำคัญของหลักสูตร
1.จุดหมายของหลักสูตรมีความกว้างขวางกว่าหลักสูตรรายวิชา
2. จุดประสงค์ของแต่ละหมวดวิชา เป็นจุดประสงค์ร่วมกันของวิชาต่างๆ ที่นำมารวมกันไว้
3. โครงสร้างหลักสูตรมีลักษณะเป็นการนำเอาเนื้อหาของแต่ละวิชาซึ่งได้เลือกสรรแล้วมาเรียงลำดับกันเข้า
            ส่วนดีส่วนเสียของหลักสูตร
ส่วนดี
-      ในการสอน ทั้งผู้เรียนและผู้สอนเกิดความเข้าใจและมีทัศนคติเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนกว้างขึ้น
-      เป็นหลักสูตรที่ส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างกว้างขวาง เป็นการเอื้ออำนวยต่อการจัดกิจกรรม ที่มีประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
-      เป็นหลักสูตรที่ทำให้วิชาต่างๆที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันมีความสัมพันธ์กันดีขึ้น
ส่วนเสีย
-      ลักษณะของหลักสูตรทำให้การเรียนการสอนไม่ส่งเสริมให้เกิดความรู้เนื้อหาอย่างลึกซึ้ง เข้าทำนองรู้รอบมากกว่ารู้สึก
-      การสอนอาจไม่บรรลุจุดประสงค์ เพราะต้องสอนหลายวิชาในขณะเดียวกัน
หลักสูตรประสบการณ์
          เริ่มต้นหลักสูตรนี้มีชื่อว่าหลักสูตรกิจกรรม และเปลี่ยนเป็นหลักสูตรประสบการณ์ในปัจจุบัน  เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาที่ว่าหลักสูตรเดิมที่ใช้อยู่ ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรรายวิชาหรือหลักสูตรกว้าง ล้วนไม่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสนใจและกระตือรือร้นในการเรียนเท่าที่ควร
พัฒนาการ/วิวัฒนาการของหลักสูตร หลักสูตรประสบการณ์ถูกมาใช้ครั้งแรกที่โรงเรียนทดลองของมหาวิทยาลัยซิคาโก ในปี ค.ศ. 1896 ถ้าจะให้ผู้เรียนสนใจและเกิดความกระตือรือร้นในการเรียนจะต้องอาศัยแรงกระตุ้น 4 อย่างคือ
1.       แรงกระตุ้นทางสังคม
2.       แรงกระตุ้นทางสร้างสรรค์
3.       แรงกระตุ้นทางการค้นคว้าทดลอง
4.       แรงกระตุ้นทางการแสดงออกด้วยคำพูด การกระทำ และทางศิลปะ
            ลักษณะสำคัญของหลักสูตร
1.       ความสนใจของผู้เรียนเป็นตัวกำหนดเนื้อหาและเค้าโครงหลักสูตร
2.       วิชาที่ผู้เรียนทุกคนต้องเรียน คือวิชาที่ผู้เรียนมีความสนใจเรียนกัน
3.       โปรแกรมการสอนไม่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า
4.       ใช้วิธีแก้ปัญหาเป็นหลักใหญ่ในการเรียนการสอน
            ปัญหาของหลักสูตรประสบการณ์
1.       ปัญหาการกำหนดวิชาในหลักสูตร หลักสูตรนี้นำเอาแนวความคิดใหม่มาใช้แทนที่จะคิดในรูปแบบของวิชาอย่างหลักสูตรรายวิชา กับมองความสนใจปัจจุบันของผู้เรียนเป็นหลักการกำหนดเนื้อหาจึงทำได้ยาก
2.       ปัญหาการจัดแบ่งวิชาเรียนในชั้นต่างๆ ไม่สามารถสร้างความต่อเนื่องของเนื้อหาวิชาระหว่างชั้นเรียนได้และบางทีก็มีการจัดกิจกรรมซ้ำๆกันทุกปี ได้มีการแก้ไขโดยการจัดทำตารางสอนของแต่ละปีขึ้น แต่ก็ไม่ได้ผลเพราะตารางสอนเหล่านั้นเป็นเรื่องของเก่าไม่ได้ชี้ชัดลงไปว่าในปีใหม่ ควรทำอะไรกัน
หลักสูตรรายวิชา
          เป็นหลักสูตรที่ใช้กันมาตั้งแต่ดั้งเดิม โดยโครงสร้างเนื้อหาวิชาในหลักสูตร จะถูกแยกออกจากกันเป็นรายวิชาโดยไม่จำเป็นต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกัน ไม่ว่าในด้านเนื้อหาหรือการสอน หลักสูตรของไทยเราที่ยังเป็นหลักสูตรรายวิชา ได้แก่ หลักสูตรมัธยมและอุดมศึกษา
            ลักษณะสำคัญของหลักสูตร
1.  จุดมุ่งหมายของหลักสูตร มุ่งส่งเสริมพัฒนาการของผู้เรียนโดยใช้วิชาต่างๆเป็นเครื่องมือ
2.   จุดมุ่งหมายของหลักสูตรอาจมีส่วนสัมพันธ์กับสังคมหรือไม่ก็ได้ และโดยทั่วไปหลักสูตรนี้ไม่คำนึงถึงผลที่เกิดแก่สังคมเท่าใดนัก
3.  จุดประสงค์ของแต่ละวิชาในหลักสูตรเน้นการถ่ายทอดเนื้อหาวิชาเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และลักษณะในวิชานั้นๆ เป็นสำคัญ
4. โครงสร้างของเนื้อหาวิชาประกอบด้วยเนื้อหาของแต่ละวิชาที่เป็นเอกเทศไม่เกี่ยวข้องกับวิชาอื่น และถูกจัดไว้อย่างมีระบบเป็นขั้นตอนเพื่อสะดวกแก่การเรียนการสอน

5. กิจกรรมการเรียนการสอนเน้นเรื่องการถ่ายทอดความรู้ ด้วยการมุ่งให้ผู้เรียนจำเนื้อหาวิชา
6. การประเมินผลการเรียนรู้ มุ่งในเรื่องความรู้ละทักษะในวิชาต่างๆที่ได้เรียนมา
            ส่วนดีส่วนเสียของหลักสูตร
ส่วนดี
-      จุดมุ่งหมายของหลักสูตรช่วยให้เนื้อหาวิชาเป็นไปโดยง่าย
-      เนื้อหาวิชาจะถูกจัดไว้ตามลำดับขั้นอย่างมีระบบเป็นการง่ายและทุ่นเวลาในการเรียนการสอน
-      การจัดเนื้อหาวิชาอย่างมีระบบทำให้การเรียนรู้เนื้อหาวิชาดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
-      การประเมินผลการเรียนทำได้ง่าย
ส่วนเสีย
-      หลักสูตรแบบนี้ทำให้ผู้สอนละเลยการเรียนรู้อื่นๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างที่เรียนเนื้อหา
-      หลักสูตรนี้มักจะละเลยความสนใจของผู้เรียนด้วยเหตุผลที่ว่ายึดหลักเหตุผลด้านเนื้อหาสาระของวิชาเกณฑ์โดยไม่คำนึงถึงหลักจิตวิทยา
-      หลักสูตรเน้นการถ่ายทอดความรู้เนื้อหาที่กำหนดไว้จึงมักละเลยต่อสภาพและปัญหาของสังคมและท้องถิ่นทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ไม่สามรถนำไปประยุกต์ใช้ในสังคมได้
            การปรับปรุงหลักสูตร                                                                                                   
            1. จัดเรียงลำดับเนื้อหาให้ต่อเนื่องกัน คือจัดเนื้อหาที่อยู่ในชั้นเดียวกันหรือระหว่างชั้นให้ต่อเนื่องกัน โดยรักษาความเป็นวิชาของแต่ละวิชาไว้ การจัดมีอยู่ 2 แบบคือ
- จัดให้ต่อเนื่องตามแนวนอน คือการจัดเนื้อหาของวิชาหนึ่งให้สัมพันธ์หรือต่อเนื่องกับของอีกวิชาหนึ่งซึ่งอยู่ในชั้นเดียวกัน
- จัดให้ต่อเนื่องในแนวตั้ง คือ การจัดเนื้อหาที่อยู่ต่างชั้นกัน
2. จัดโดยการเชื่อมโยงเนื้อหาเข้าด้วยกัน คือจัดเนื้อหาของแต่ละวิชาให้เชื่อมโยงกัน ในลักษณะที่ส่งเสริมซึ่งกันและกันทำได้ 2 ระดับ คือ
- ระดับความคิด คือการพัฒนาความสามรถทางปัญญา อันได้แก่ความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ เจตคติและความพึงพอใจ
- ระดับโครงสร้าง คือ การจัดให้เนื้อหาในแต่ละวิชาเอื้อประโยชน์แต่กันและกัน อีกทั้งยังเกิดประโยชน์ต่อวิชาอื่นๆด้วย
หลักสูตรแกน
          เป็นหลักสูตรที่พยายามจะปลีกตัวออกจากการเรียนที่ต้องแบ่งแยกวิชาออกเป็นรายวิชาย่อยๆ และเพื่อที่จะดึงเอาความต้องการ และปัญหาของสังคมมาเป็นศูนย์กลางของหลักสูตร
พัฒนาการ/วิวัฒนาการของหลักสูตร เริ่มจากการใช้วิชาเป็นแกนกลาง โดยเชื่อมเนื้อหาของวิชาที่สามารถนำมาสัมพันธ์กันได้ เข้าด้วยกัน แล้วกำหนดหัวข้อขึ้นให้มีลักษณะเหมือนเป็นวิชาใหม่เช่น นำเอาเนื้อหาของวิชาชีววิทยา สังคมศึกษา และสุขศึกษามาเชื่อมโยงกันภายใต้หัวข้อ สุขภาพละอนามัยของท้องถิ่นโดยหลักสูตรแกนคือหลักสูตรที่ผู้เรียนทุกคนต้องเรียน และเป็นหลักสูตรที่เน้นให้เรื่องปัญหาสังคมและค่านิยมของสังคม โดยมีกำหนดเค้าโครงของสิ่งที่จะสอนไว้อย่างชัดเจน
            หลักสูตรแกนในเอเชีย
          ประเทศในภูมิภาคเอเชียที่ใช้หลักสูตรแกนอยู่ในปัจจุบันนี้มีหลายปะเทศ เช่นจีน อินเดีย อินโดนีเซีย เนปาล ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา ไทย เวียดนาม ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และนิวซีแลนด์ เพื่อช่วยให้มองเห็นภาพของหลักสูตรแกนของประเทศต่างๆในเอเชียชัดเจนยิ่งขึ้นขอนำเอาสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องมาสรุปเปรียบเทียบให้เห็นดังต่อไปนี้
          - ระดับการผสมผสานวิชาในหลักสูตร ที่มีการผสมผสานกันอย่างมากมาย ได้แก่ หลักสูตรของประเทศศรีลงกา ไทย เวียดนาม และนิวซีแลนด์ ผสมผสานระดับปานกลาง ไดแก่ ของจีน อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น ส่วนหลักสูตรของเนปาลนั้นมีการผสมผสากันน้อยมาก
            ข้อสรุปเกี่ยวกับหลักสูตรแกน
          หลักสูตรแกน เป็นหลักสูตรที่บังคับให้ทุกคนต้องเรียน อาจเป็นหนึ่งของหลักสูตรของแม่บท หรือเป็นตัวหลักสูตรแม่บทก็ได้ จุดเน้นของหลักสูตร จะอยู่ที่วิชาหรือสังคมก็ได้ ส่วนใหญ่จะเน้นสังคม โดยยึดหน้าที่ของบุคคลในสังคมหรือปัญหาของสังคม หรือการสร้างเสริมสังคมเป็นหลัก
หลักสูตรแฝง
          เป็นหลักสูตรที่ไม่ได้กำหนดแผนการเรียนรู้เอาไว้ล่วงหน้า และเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ที่โรงเรียนไม่ได้ตั้งใจจะจัดให้
หลักสูตรแฝงกับพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านจิตพิสัย
          โดยทั่วไปโรงเรียนจะประสบความสำเร็จมากในการสอนให้เกิดการเรียนรู้ ทางด้านพุทธิพิสัย และทักษะพิสัย ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีการสอนและการประเมินผลที่จัดให้เกิดความสอดคล้องกันได้ง่าย และกระทำได้ง่าย แต่โรงเรียนจะมีปัญหาในการสอนนักเรียนให้เกิดการเรียนรู้ทางด้ายจิตพิสัย เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่สามารถดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้โดยการบรรยาย เด็กจะเรียนรู้สิ่งเหล่านี้จากตัวอย่างและการกระทำของผู้ใหญ่ และผู้อยู่ใกล้ชิดมากกว่า

          หลักสูตรแฝงจะช่วยให้ครู และนักการศึกษาได้แง่คิด  และเข้าใจสัจธรรมเกี่ยวกับการเรียนรู้ในเรื่องเจตคติ ค่านิยม พฤติกรรม คุณธรรม และจริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนจึงไม่ควรเน้นและทุ่มเทในด้านการสอนสิ่งเหล่านี้ ตามตัวหลักสูตรปกติมากจนเกินไป หรือเกินความจำเป็น แต่ให้เพิ่มความสนใจแก่หลักสูตรแฝงมากขึ้น
หลักสูตรสัมพันธ์วิชา
          เป็นหลักสูตรรายวิชาที่ได้รับการปรับปรุงเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ การแก้ไขข้อบกพร่องทำโดยการนำเอาเทคนิค การสอนใหม่ๆมาใช้ เช่นให้ผู้เรียนร่วมในการวางแผนการเรียน และให้ผู้เรียน ทำกิจกรรมต่างๆ นอกเหนือจากการท่องจำ เพื่อให้ผู้เรียน รู้เนื้อห้าที่ต้องการ
            สำหรับวิธีการที่ใช้ในการสัมพันธ์วิชามีอยู่ 3 วิธี ได้แก่
1.       สัมพันธ์ในข้อเท็จจริง คือใช้ข้อเท็จจริงของวิชาส่วนหนึ่งมาช่วยประกอบการสอนอีกวิชาหนึ่ง
2.       สัมพันธ์ในหลักเกณฑ์ เป็นการนำเอาหลักเกณฑ์หรือแนวความคิดของวิชาหนึ่งไปใช้อธิบายเรื่องราว หรือแนวความคิดของอีกวิชาหนึ่ง
3.       สัมพันธ์ในแง่ศีลธรรม และหลักปฏิบัติในสังคม วิธีนี้คล้ายวิธีที่สองแค่แตกต่างกันที่ว่า แทนที่จะใช้หลักเกณฑ์หรือแนวความคิดเป็นตัวเชื่อมโยง กลับใช้หลักศีลธรรม และหลักปฏิบัติของสังคมเป็นเครื่องอ้างอิง
หลักสูตรสัมพันธ์วิชา ช่วยให้ผู้เรียนมีความสนใจในสิ่งที่เรียนมากขึ้น ทำให้ผู้เรียนมองโปรแกรมในการเรียนมากขึ้น และกว้างขวางกว่าเดิม และเปิดทางให้สามารถขยายงานด้านตำราเรียนได้กว้างขวางขึ้น แต่ก็ยังมีข้อบกพร่องที่แก้ไม่ได้ คือ รูปแบบของหลักสูตรยังคงเป็นหลักสูตรรายวิชาอยู่นั่นเอง
หลักสูตรเกลียวสว่าน
          เป็นการจัดเนื้อหา หรือหัวข้อเนื้อหาเดียวกันในทุกระดับชั้น แต่มีความยากง่ายและความลึกซึ้งแตกต่างกัน กล่าวคือ ในชั้นต้นๆจะสอนในเรื่องง่ายๆและค่อยเพิ่มความยาก และความลึกลงไปตามระดับชั้นที่สูงขึ้นไป
ที่มาของแนวความคิดเรื่องหลักสูตรเกลียวสว่าน
          บรูเนอร์ มีความเชื่อว่าในเนื้อหาของแต่ละเนื้อหาวิชาจะมีโครงสร้าง และการจัดระบบที่แน่นอนจึงควรนำความจริงในข้อนี้มาใช้กับการจัดหลักสูตรโดยการจัดลำดับเนื้อหาให้ก้าวหน้าไปเรื่อยๆอย่างมีระบบจากง่ายไปหายาก จากแนวความคิดนี้จึงมีการพัฒนาหลักสูตรในลักษณะบันไดวนหรือเกลียวสว่าน คือให้ลึกและกว้างออกไปเรื่อยๆ ตามอายุและพัฒนาการของเด็ก
หลักสูตรเกลียวสว่านตามแนวคิดของดิวอี้
          ดิวอี้มีความเชื่อว่า การเจริญงอกงามขึ้นอยู่กับการฝึกใช้สติปัญญาในการแก้ปัญหาที่ได้มาจากประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนมากกว่าจากปัญหาที่กำหนดให้จากภายนอก และในขณะที่ผู้เรียนฝึกใช้สติปัญญาจากการแก้ปัญหาเหล่านี้ เขาจะได้ความคิดใหม่ๆจากการทำงาน



หลักสูตรสูญ
          เป็นชื่อประเภทของหลักสูตรที่ไม่แพร่หลายและไม่เป็นที่รู้จักกันมากนัก โดยไอส์เนอร์ เขาได้อธิบายถึงความเชื่อของเขาในเรื่องนี้ว่า เป็นหลักสูตรที่ไม่ได้มีปรากฏอยู่ให้เห็นในแผนการเรียนรู้ และเป็นสิ่งที่ในโรงเรียนไม่ได้สอน
 ประเด็นที่ควรพิจารณา
          ในการกำหนดหลักสูตรสูญขึ้นมานั้นมีสิ่งที่ต้องนำมาพิจารณาอยู่ 2 ประเด็นคือ
          1.กระบวนการทางปัญญา ที่โรงเรียนเน้นและละเลย เป็นกระบวนการทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับการรู้ โดยเริ่มจากการรับรูสิ่งต่างๆ ไปจนคิดหาเหตุผลทุกรูปแบบ
          2. เนื้อหาสาระที่มีอยู่และที่ขาดหายไปจากหลักสูตร การนำความคิดของหลักสูตรสูญ  ไปใช้ในการพัฒนาหลักสูตร
          เมื่อจะพิจารณาว่ามีกระบวนการใด หรือเนื้อหาใดขาดไปจากหลักสูตร ก็จะต้องมีการกำหนดกรอบที่เป็นกลางๆเอาไว้อ้างอิง ถ้าหากหลักสูตรไม่ได้ครอบคลุมถึงสิ่งที่เป็นเนื้อหากลางๆที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนหลักสูตรเหล่านั้นก็จะด้อยคุณค่าทันที จากตัวอย่างการพิจารณา นำวิชาตรรกวิทยามาบรรจุในหลักสูตรอนุบาลนั้น ต้องถือว่าต้องถือว่าหลักสูตรสากลของอนุบาลศึกษา จะต้องไม่มีการเรียนวิชาตรรกวิทยา
                ประเภทของหลักสูตร
1. หลักสูตรแบบเนื้อหาวิชาหรือแบบรายวิชา ( The Subject Curriculum) หลักสูตรที่เน้นการถ่ายทอดเนื้อหาวิชา
2. หลักสูตรแบบสัมพันธ์วิชา ( Correlated Curriculum) เป็นหลักสูตรที่นำเนื้อหาต่างๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันและมีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันจัดไว้ด้วยกัน
3. หลักสูตรแบบหมวดวิชาหรือสหสัมพันธ์ (The Broard Field Curriculum) จุดมุ่งหมาย ผสมผสานเนื้อหาวิชา เช่น หลักสูตรประถมศึกษา และหลักสูตรมัธยมศึกษา พ.ศ. 2503
4. หลักสูตรกิจกรรมและประสบการณ์ (The Activities And Experience Curriculum) เป็นการแก้ไขข้อบกพร่องของหลักสูตรแบบรายวิชาที่ไม่คำนึงถึงความต้องการและความสนใจของผู้เรียน
5. หลักสูตรเพื่อชีวิตและสังคม (The Social Process And Life Function Curriculum)  หลักสูตรนี้จะยึดเอาสังคมและชีวิตของเด็กเป็นหลัก
6. หลักสูตรแกนกลาง (The Core Curriculum) หลักสูตรแบบนี้จะกำหนดวิชาใดวิชาหนึ่งเป็นศูนย์กลาง
7. หลักสูตรแบบเอกัตภาพ (The Individual Curriculum) จัดเนื้อหาตามความเหมาะสมและความต้องการของผู้เรียนแต่ละบุคคล แนวคิดจาดปรัชญา อัตถิภาวนานิยม
8. หลักสูตรบูรณาการ (The Integrated Curriculum)  เป็นการผสมผสานเนื้อหาเข้าด้วยกัน ไม่แยกเป็นรายวิชาจะเน้นที่ตัวเด็ก และปัญหาสังคมเป็นสำคัญ เช่น หลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. 2521

           



การออกแบบหลักสูตร (curriculum design)
         การจัดรายละเอียดองค์ประกอบของหลักสูตร ซึ่งประกอบด้วย เป้าหมาย จุดหมาย เนื้อหาสาระ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และการประเมินผล ดังนั้นหากจะเปรียบการพัฒนาหลักสูตร คือ การสร้างบ้าน การออกแบบหลักสูตรก็คือการออกแบบให้ได้มาซึ่งพิมพ์เขียว หรือรูปแบบของบ้าน ที่มีรายละเอียดของห้องต่าง ๆ เป็นการจัดส่วนประกอบต่าง ๆ ของบ้านให้เหมาะสมกลมกลืน เหมาะกับการใช้งาน
  
    ส่วนประกอบหลักสูตร 4 ส่วนหลัก
1.เป้าหมาย จุดหมาย และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
2.เนื้อหาสาระ
3.กิจกรรมการเรียนการสอน
4.การประเมินผล                                   

 ออนสไตน์และฮันคินส์ และ เฮนเสน
     กล่าวไว้สอดคล้องกันว่า การออกแบบหลักสูตรที่ดีต้องมีหลักในการพิจารณา 6 ประการดังนี้
           1. การกำหนดขอบข่ายหลักสูตร  หมายถึง การกำหนดเนื้อหา สาระการเรียนรู้ หัวข้อ ประเด็นสำคัญต่าง ๆ แนวคิด ค่านิยม หรือคุณธรรมที่สำคัญ สำหรับผู้เรียนในรายวิชาต่าง ๆ ของหลักสูตรแต่ละระดับชั้น
          2. การจัดลำดับการเรียนรู้ หมายถึง การจัดลำดับก่อนหลังของเนื้อหา สาระการเรียนรู้ หัวข้อ ประเด็นที่สำคัญต่าง ๆ ให้แก่ผู้เรียนได้เรียนรู้ไปตาม วัย วุฒิภาวะ และพัฒนาการทางสติปัญญา
          3. ความต่อเนื่อง  หมายถึง การจัดเนื้อหา ประสบการณ์ การเรียนรู้ ทักษะต่าง ๆ ให้มีความต่อเนื่องตลอดหลักสูตร หลักสูตรที่ดีนอกจากมีการจัดขอบข่ายและลำดับการเรียนรู้ที่ดีแล้ว ยังต้องมีความต่อเนื่องของเนื้อหาที่เหมาะสมอีกด้วย
       
           4. ความสอดคล้องเชื่อมโยง   การจัดหลักสูตรที่ดีควรคำนึงถึง ความสอดคล้องเชื่อมโยง ให้มี ความต่อเนื่องกันของเนื้อหา ประสบการณ์การเรียนรู้ และทักษะที่อยู่ในระดับชั้นเดียวกัน เช่น การจัดหลักสูตรสังคมศึกษา ชั้น ม.1 ให้เนื้อหาภูมิศาสตร์ประเทศไทยมีความสัมพันธ์สอดคล้องเชื่อมโยงกับเนื้อหาประวัติศาสตร์ไทย เป็นต้น
          5. การบูรณาการ    เป็นการจัดขอบข่ายเนื้อหาและประสบการณ์การเรียนรู้ในหลักสูตรให้มีความสัมพันธ์เชื่อมโยง จากหัวข้อหนึ่งไปยังอีกหัวข้อหนึ่งของรายวิชานั้น หรือ จากรายวิชาหนึ่งไปยังอีกรายวิชาหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกัน
         6. ความสมดุล   หลักสูตรที่ดีนอกจากจะต้องคำนึงถึงการจัดขอบข่ายเนื้อหา และมีลำดับการเรียนรู้ ที่ดีแล้ว ยังควรต้องพิจารณาด้านความสมดุลของเนื้อหา ประสบการณ์การเรียนรู้ และทักษะของรายวิชาต่าง ๆ ความสมดุลระหว่างเนื้อหาสาระกับวุฒิภาวะของผู้เรียน ความสมดุลของหลักสูตร จึงเป็นสิ่งที่นักพัฒนาหลักสูตรต้องให้ความสนใจ

ประโยชน์ของการออกแบบหลักสูตร
   ประโยชน์ของการออกแบบหลักสูตร
      การออกแบบหลักสูตรที่ดีจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการศึกษา ฮอลล์ (Hall.1962 อ้างถึงใน ปราณี สังขะตะวรรธน์และสิริวรรณ ศรีพหล. 2545 : 97 – 98) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของการออกแบบหลักสูตรไว้ ดังนี้
          1.การออกแบบเป็นการเน้นที่เป้าหมาย จุดหมาย และวัตถุประสงค์ของงานเป็นสำคัญ การออกแบบหลักสูตรจึงเป็นการสร้างความมั่นใจว่าหลักสูตรที่สร้างขึ้น สามารถนำมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติ เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ หรือจุดหมายของการจัดการศึกษานั้นได้
          2.การออกแบบหลักสูตรที่ดีช่วยเพิ่มโอกาสของความสำเร็จในการจัดการศึกษา การออกแบบเป็นการจัดองค์ประกอบหลักสูตรทั้ง 4 ที่จะเป็นแนวทางให้กับผู้ใช้หลักสูตรได้ดำเนินการ โดยเริ่มตั้งแต่การศึกษาวัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย การให้สาระความรู้ที่จำเป็น วิธีการนำเสนอสาระความรู้ หรือ แนวการดำเนินการเรียนการสอน และการประเมินผลหรือการตัดสินว่าผู้เรียนได้บรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่เพียงใด
      

           3.การออกแบบช่วยประหยัดเวลาและแรงงาน การออกแบบเป็นการสร้างพิมพ์เขียว เพื่อให้ผู้ใช้หลักสูตรได้เห็นประสบการณ์ที่จำเป็นที่ผู้เรียนต้องได้รับ การกำหนดรูปแบบต่าง ๆ การกำหนดวิธีการนำหลักสูตรไปใช้ การกำหนดทิศทางรูปแบบการเรียนการสอน ช่วยให้ผู้ใช้หลักสูตรมีความเข้าใจในกระบวนการต่าง ๆ สามารถนำไปปฏิบัติและประยุกต์ใช้ได้
          4.การออกแบบที่ดีช่วยในการสื่อสารและประสานงาน นักออกแบบที่สามารถออกแบบหลักสูตร เอกสารการสอน และคู่มือต่าง ๆ ช่วยเพิ่มความเข้าใจในการนำหลักสูตรไปใช้ โดยอาจจะไม่ต้องใช้เวลามาจัดอบรม เพื่อชี้แจงเกี่ยวกับหลักสูตร และการนำหลักสูตรไปใช้
          5.การออกแบบช่วยลดภาวะความตึงเครียด เนื่องจากการออกแบบหลักสูตรเป็น การวางแผนสำหรับการจัดการศึกษาที่มีเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน การออกแบบหลักสูตรเป็นการสร้างพิมพ์เขียวจากสิ่งที่เป็นนามธรรมไปสู่สิ่งที่เป็นรูปธรรม เพื่อให้ผู้ปฏิบัติสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างไม่ยุ่งยาก











2.  ศึกษาทำความเข้าใจเพิ่มเติมจาก สุเทพ อ่วมเจริญ การพัฒนาหลักสูตร : ทฤษฎีและการปฏิบัติ การพัฒนาหลักสูตร : การออกแบบหลักสูตร
            ปฏิบัติการ : การออกแบบหลักสูตร
การออกแบบหลักสูตร (Curriculum Design) ตามขั้นตอนของ SU Model เป็นสามเหลี่ยมรูปที่สอง ซึ่งจะนำจุดมุ่งหมายของหลักสูตรมาจัดทำกรอบการปฏิบัติ หลักสูตรที่จัดทำขึ้นเพื่อมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้ได้รับการพัฒนาตามกระบวนการของหลักสูตร สอดคล้องกับคำถามข้อที่ 2 ของไทเลอร์ ที่ถามว่า มีประสบการณ์การศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัด เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายในการศึกษา ซึ่ง ปฏิบัติการ : การออกแบบหลักสูตร นี้ ได้ศึกษาเอกสารและมีองค์ความรู้ต่าง ๆ
                . โมเดลต้นแบบเชิงวัตถุประสงค์ (Objective Model)
Tyler ได้พัฒนาโมเดลต้นแบบเชิงวัตถุประสงค์ หรือ แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์ ถือว่าเป็นต้นแบบของการพัฒนาหลักสูตร จากหนังสือ Basic Principles of Curriculum and Instruction ของ Ralph W. Tyler (1949) ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรและการวางแผนการสอน โดยตั้งคำถามพื้นฐานไว้ 4 ข้อ
1.             มีจุดมุ่งหมายทางการศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนต้องแสวงหา (What educational purposes should
2.             มีประสบการณ์ทางการศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัดขึ้นเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ (What
3.             จะจัดประสบการณ์ทางการศึกษาอย่างไร จึงจะทำให้การสอนมีประสิทธิภาพ (How can these
4.             จะประเมินประสิทธิผลของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร (How can we determine whether





            การปรับปรุงโมเดลโดยฮิลดา ทาบา
ต่อมาในปี 1962 Taba ได้เสนอลำดับขั้นตอนของกระบวนการพัฒนาหลักสูตรเพื่อปรับปรุงโมเดลให้มีความชัดเจนขึ้น โดยแบ่งออกเป็น 7 ขั้น ได้แก่
1.             วิเคราะห์ความต้องการ
2.             กำหนดจุดประสงค์
3.             เลือกเนื้อหา
4.             จัดการเนื้อหา
5.             เลือกกิจกรรมการสอนเพื่อประสบการณ์ทางการศึกษา
6.             จัดกิจกรรมการสอนเพื่อประสบการณ์ทางการศึกษา
7.             ตรวจสอบความสมดุลและลำดับขั้นตอน

            รูปแบบการออกแบบหลักสูตรที่เน้นเนื้อหาวิชา
Ellis (2004: 91-96) กล่าวว่า หลักสูตรที่เน้นเนื้อหาวิชาเกี่ยวข้องกับความรู้และทักษะของการศึกษาทางด้านศิลปศาสตร์ ซึ่งหมายถึงการศึกษาทางวิชาการ (academic education) ไม่ใช่ทางอาชีวศึกษา เน้นพัฒนาการทางสติปัญญาและเหตุผล สร้างคนให้มีความรู้เพื่อเตรียมตัวเป็นผู้ที่มีความสามารถในการทำงานให้สังคมประชาธิปไตย
            ปรัชญาการศึกษาที่เป็นพื้นฐานของหลักสูตรที่เน้นเนื้อหาวิชา คือ ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม (Essentialism) ซึ่งมีแนวคิดว่า ความรู้ ความจริง และวัฒนธรรมของได้รับการเลือกสรรแล้วอย่างเหมาะสม หลักสูตรจะยึดเนื้อหาวิชาเป็นสำคัญ และปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม (Perennialism) ที่มีแนวคิดว่า เน้นการพัฒนาทางด้านสติปัญญาและการใช้เหตุผล เนื้อหาสาระของสิ่งที่เรียน หลักสูตรใช้เนื้อหาวิชาเป็นสิ่งนำทางไปสู่ความสำเร็จทางปัญญา การเรียนการสอนเน้นที่จะสร้างคนให้เป็นคนที่สมบูรณ์
            การออกแบบหลักสูตรที่เน้นเนื้อหาวิชาเน้นสอนให้ผู้เรียนเป็นคนเก่ง
รูปแบบการออกแบบหลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

หลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญให้ความสำคัญต่อพัฒนาการของผู้เรียนแต่ละบุคคลมากกว่าเนื้อหาสาระวิชา ดังนั้นหลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญจึงไม่ใชหลักสูตรรายวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ฯลฯ แต่เป็นหลักสูตรแห่งความสนใจและประสบการณ์ (Ellis, 2004: 43) นอกจากนั้นแล้ว Ellis ยังกล่าวว่า การเรียนรู้อย่างมีความหมายของการจัดหลักสูตรแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เกิดจากการที่นักเรียนค้นพบตนเองที่ไม่ใช่เป็นการค้นพบจากความรู้ภายนอก แต่เกิดจากค้นพบตนเองซึ่งเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องเพื่อค้นหาว่าตนเองเป็นใครและต้องการเป็นอะไรในอนาคต
            ปรัชญาการศึกษาที่เป็นพื้นฐานของหลักสูตรที่เน้นผู้เรียน คือ ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวะนิยม (Existentialism) มุ่งเน้นการเรียนรู้ให้ผู้เรียนรู้จักตนเอง โดยให้เรียนรู้จากประสบการณ์ในชีวิตจริง เป็นประสบการณ์ที่สัมพันธ์กับสังคม
ปรัชญาการศึกษาที่เป็นพื้นฐานของหลักสูตรที่เน้นปัญหาสังคมเป็นสำคัญ ได้แก่ ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) มีแนวคิดว่า การเรียนรู้เป็นการนำความรู้ไปพัฒนาสังคมให้สังคมเป็นสังคมประชาธิปไตยอย่างแท้จริง การศึกษาจึงเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปรับปรุงสภาพสังคม หรือเป็นเครื่องมือของมนุษย์ในการปฏิรูปสังคม ดังนั้น หลักสูตรที่เน้นปัญหาสังคมเป็นสำคัญมุ่งหวังให้สังคมเป็นสุข


อ้างอิงจาก


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น