วันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2561

model




model ดร.พิจิตรา  ธงพานิช





model  สายธาร  หมู่แก้ว






Research (การวิจัย)
           การวิจัย (Research) เกิดจากการรวมคำ 2 คำ คือคำว่า RE + SEARCH (RE แปลว่าซ้ำ , SEARCH แปลว่า ค้น) Research แปลว่า ค้นคว้าซ้ำแล้วซ้ำอีก
ปี คศ.1961 ณ สหรัฐอเมริกาที่ประชุม Pan Pacific Science Congress โดยนักจิตวิทยาด้านการวิจัยได้ออกแบบแนวคิดอธิบายคำว่า “ Research” โดยแยกเป็นอักษรอธิบายความหมายไว้ดังนี้
                            R = ecruitment & Relationship หมายถึง การฝึกตนให้มีความรู้ รวมทั้งรวบรวมผู้ที่มีความรู้เพื่อปฏิบัติงานรวมกันติดต่อสัมพันธ์และประสานงานกัน
                            E = Edicatopmg & Efficency หมายถึง ผู้วิจัยจะต้องมีการศึกษามีความรู้และสมรรถภาพสูงในการวิจัย
                            S = Science & Stimulation หมายถึง เป็นศาสตร์ที่ต้องมีการพิสูจน์ค้นคว้า เพื่อหาความจริงและผู้วิจัยต้องมีความคิดริเริ่มกระตือรือร้นที่จะทำวิจัย
                            E = Evaluation & Enviroment หมายถึงรู้จักประเมินผลว่ามีประโยชน์สมควรจะทำต่อไปหรือไม่และต้องรู้จักใช้เครื่องมือต่างๆในการวิจัย
                            A = Aim & Attitude หมายถึง มีจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายที่แน่นอนและมีทัศนคติที่ดีต่อการติดตามผลการวิจัย
                            R = Result หมายถึง การวิจัยได้มาผลเป็นอย่างไรก็ตามจะต้องยอมรับผลทางวิจัยนั้นอย่างดุษฎี และเป็นผลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าอย่างมีระบบ
                            C = Cruiosity หมายถึง ผู้วิจัยจะต้องมีความอยากรู้อยากเห็นมีความสนใจและขวนขวายในการวิจัยอยู่ตลอดเวลา
                            H = Horizon หมายถึง เมื่อผลการวิจัยปรากฏออกมาแล้วย่อมทำให้ทราบและเข้าใจในปัญหาเหล่านั้นได้ เหมือนกับการเกิดแสงสว่างขึ้น แต่ถ้ายังไม่เกิดแสงสว่างผู้วิจัยต้องดำเนินการต่อไปจนกว่าจะพบแสงสว่าง ในทางสังคมแสงสว่าง หมายถึงผลการวิจัยก่อให้เกิดสุขแก่สังคม (อารมณ์ สนานภู่ : 2545)
การวิจัย หมายถึง การวิเคราะห์ที่มีระบบ ระเบียบ และจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน อันจะนำไปสู่การพัฒนาเป็นข้อสรุปที่เป็นนัยทั่วไป หรือได้มาซึ่งหลักเกณฑ์หรือทฤษฎีอันสามารถนำไปใช้ในการพยากรณ์ได้และมีคุณลักษณะต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. การวิจัยจะต้องนำไปสู่การแก้ปัญหาเพื่อบรรลุเป้าหมายสุดท้าย (Ultimate goal) กล่าวคือการค้นพบความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลระหว่างตัวแปร (Variable) ต่าง ๆ
2. การวิจัยควรเน้นการพัฒนาข้อสรุปที่เป็นนัยทั่วไป (Generalization) หลักการ (Principle) หรือทฤษฎี (Theory) ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการพยากรณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
3. การวิจัยต้องอยู่บนพื้นฐานของประสบการณ์ที่สามารถสังเกตได้ (Observable experience) หรือหลักฐานเชิงประจักษ์ (Empirical evidence) ซึ่งในหลายกรณีจะเห็นว่ามีคำถามที่น่าสนใจหลายประการที่ไม่สามารถนำไปสู่กระบวนการทำวิจัยได้ เพราะไม่สามารถสังเกตได้
4. การวิจัยต้องมีการสังเกตที่ถูกต้อง (Accurate observation) และพรรณาความได้นักวิจัยอาจเลือกวิธีการวัดและเครื่องมือทางด้านปริมาณ หากมีความเหมาะสมในการหาคำตอบได้ นักวิจัยก็จะต้องใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) หรือวิธีการที่ไม่ใช่เชิงปริมาณ (Non qualitative method) แทน
5. การวิจัยเกี่ยวข้องกับการเก็บข้อมูลใหม่ ซึ่งเป็นข้อมูลปฐมภูมิหรือข้อมูลที่ใช้เป็นครั้งแรก หรือมิฉะนั้นก็จะเป็นการใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้วสำหรับวัตถุประสงค์ใหม่ ในทางตรงข้ามการจัดการใหม่ (Reorganizing) หรือการนำเอาผลงานของผู้ทำวิจัยไว้แล้วมาศึกษาใหม่ (Restating) ไม่ถือว่าเป็นการทำวิจัย เพราะการศึกษาดังกล่าวไม่ได้ทำให้เกิดความรู้ใหม่ขึ้นมา
6. การวิจัยมีวิธีการหรือแบบการวิจัย (Research procedure or research design) ซึ่งนำไปสู่การวิเคราะห์ที่เข้มแข็งและถือได้ว่าเป็นการวิจัย
7. การทำวิจัยต้องการความรู้ ความชำนาญ หรือความเชี่ยวชาญ (Expertise) ดังนั้น ผู้ทำวิจัยจะต้องรู้และเข้าใจปัญหา (Problem) ที่จะทำพร้อมกับต้องรู้ด้วยว่าคนอื่นได้ทำวิจัยอะไรไว้บ้างและอย่างไรผู้ทำวิจัยจะต้องรู้ถ้อยคำที่ใช้ (terminology) แนวคิด (Concept) และทักษะด้านเทคนิค (technical skill) เพื่อที่จะเข้าใจและวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้อย่างถูกต้อง
8. การวิจัยต้องมีวัตถุประสงค์และเหตุผลถูกต้องตามหลักตรรกวิทยา ดังนั้น ผู้ที่จะทำการวิจัยจึงควรใช้เครื่องทดสอบทุกอันที่เป็นไปได้เพื่อทำให้วิธี การศึกษา (Procedure) ที่ใช้ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมา หรือแม้แต่ข้อสรุปของงานวิจัยที่ค้นพบมีเหตุผลและนักวิจัยต้องพยายามขจัดอคติส่วนตัว (bias) หรือไม่ใช้อารมณ์ในการวิเคราะห์หากแต่ใช้เหตุผลและความรู้ทางวิชาการในการทำวิจัย
9. งานวิจัยที่จะทำจะต้องเกี่ยวข้องกับคำถามที่ต้องการคำตอบของปัญหาที่ยังแก้ไม่ได้
10. การทำวิจัยเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้ความอดทน นักวิจัยควรคาดการณ์ไว้ก่อนถึงความผิดหวังหรือความหมดกำลังใจ หากถึงตอนที่จะหาคำตอบสำหรับคำถามที่ตั้งขึ้นได้อย่างยากลำบาก
11. การทำวิจัยจะต้องมีการบันทึกและรายงานอย่างระมัดระวัง โดยจะต้องให้คำนิยาม (definition) คำศัพท์สำคัญ (key work) และจะต้องตระหนักถึงข้อจำกัด (limitation) ต่างๆด้วยวิธีการศึกษาจะต้องกล่าวโดยละเอียดนอกจากนี้การอ้างอิง (reference) ก็ต้องกระทำอย่างระมัดระวังผลการวิจัยจะต้องมีการบันทึกไว้อย่างชัดเจนและจะต้องเสนอข้อสรุป (Conclusion) ด้วยความระมัดระวัง
12. การทำวิจัยบางครั้งต้องการกำลังใจหรือการสนับสนุน ไม่ว่างานวิจัยนั้นจะมีผลเกื้อกูลหรือขัดทางต่อกลุ่มคนใดก็ตาม
ประโยชน์ของการวิจัย
1. ได้ความรู้ใหม่ ทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ
2. พิสูจน์หรือตรวจสอบความถูกต้องของกฎเกณฑ์ หลักการและทฤษฎีต่าง ๆ
3. ทำให้เข้าใจสถานการณ์ ปรากฏการณ์และพฤติกรรมต่าง ๆ
4. พยากรณ์ผลภายหน้าของสถานการณ์ ปรากฏการณ์และพฤติกรรมต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง
5. แก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
6. ช่วยในการวินิจฉัย ตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม
7. นำมาปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
8. ปรับปรุงและพัฒนาสภาพความเป็นอยู่และวิธีดำรงชีวิตได้ดียิ่งขึ้น
9. กระตุ้นบุคคลให้มีเหตุผล รู้จักคิดและค้นคว้าหาความรู้อยู่เสมอ
ปัจจุบันการวิจัย เป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ของปัญหาต่าง ๆที่มนุษย์ไม่รู้  และต้องการแสวงหาคำตอบ การวิจัยทำให้มนุษย์มีความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติของมนุษย์ของโลกและของจักรวาลทำให้มนุษย์มีการพัฒนา เจริญก้าวหน้า รุ่งเรือง ไม่มีที่สิ้นสุด  การวิจัยถือเป็นกิจกรรมพัฒนาปัญญาเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่มนุษย์  เพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาวิถีการดำรงชีวิตทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรม ผลการวิจัยของประเทศไทยที่ผ่านมา ช่วยทาให้ประเทศไทยสามารถพึ่งพาตนเองในทางปัญญาไปได้ในระดับหนึ่ง และควรสนับสนุนให้หน่วยงานต่าง ๆ มีการตัดสินใจในการบริหารและการจัดการภายใต้ผลการวิจัย ก็อาจจะช่วยให้ประเทศไทยมีการพัฒนา 
การวิจัย เป็นกระบวนการแก้ปัญหาด้านการจัดการเรียนการสอน ที่เรียกว่า  การวิจัยในชั้นเรียน เมื่อครูพบว่านักเรียนคนไหนมีปัญหา ครูจำต้องศึกษาวิธีแก้ปัญหานักเรียน  คนนั้นหรือกลุ่มนั้น ใช้กระบวนการวิจัยในชั้นเรียน จากการปฏิบัติงานโดยตรงนั้นเอง

Learning (การเรียนรู้) 
                 เมื่อกล่าวถึงการเรียนรู้ (Learning) นั้นไม่ว่าเราจะทำอะไรทุกอย่างก็เกิดการเรียนรู้ได้ทั้งสิ้น เพียงแต่เราต้องใช้ความคิดไปด้วยกับการทำสิ่งนั้นๆ คือทำไปคิดไป ข้อสำคัญคือเราใช้ความคิดให้เป็นหรือไม่ ความคิดที่ดีสร้างสรรค์มันก็เกิดประโยชน์แต่ความคิดไม่ดีหรือไม่รู้เท่าทันก็เกิดโทษได้ ความหมายของการเรียนรู้ในทางจิตวิทยานั้น หมายถึง        การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอย่างค่อนข้างถาวร อันเป็นผลมาจากการฝึกฝนหรือการมีประสบการณ์การเรียนรู้นั้นไม่ใช่เป็นการสั่งสอนหรือการบอกเล่าให้เข้าใจและจำได้เท่านั้น แต่ความหมายคลุมไปถึงการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมอันเป็นผลจากการสังเกตพิจารณา ไตร่ตรอง แก้ปัญหาทั้งปวง การเรียนรู้เป็นการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม การเรียนรู้เป็นความเจริญงอกงาม  การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เป็นการเรียนรู้ต้องเนื่องมาจากประสบการณ์หรือการฝึกหัดและพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นควรจะต้องมีความคงทนถาวรเหมาะแก่เหตุเมื่อพฤติกรรมดั้งเดิมเปลี่ยนไปสู่พฤติกรรมที่มุ่งหวัง ก็แสดงว่าเกิดการเรียนรู้ขึ้นแล้ว
หลักการการเรียนรู้
         การเรียนรู้ ตามทฤษฎีของ Bloom (Bloom's Taxonomy)ได้แบ่งการเรียนรู้เป็น 6 ระดับดังนี้

พฤติกรรมเกี่ยวกับสติปัญญา ความคิด ความสามารถในการคิดเรื่องราวต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งพฤติกรรมนี้แบ่งเป็น  6 ระดับ ได้แก่

1.       ความรู้ (Knowledge) เป็นความสามารถในการจดจำแนกประสบการณ์ต่างๆและระลึกเรื่องราวนั้นๆออกมาได้ถูกต้องแม่นยำ
2.       ความเข้าใจ (Comprehension) เป็นความสามารถบ่งบอกใจความสำคัญของเรื่องราวโดยการแปลความหลัก ตีความได้ สรุปใจความสำคัญได้
3.       การนำความรู้ไปประยุกต์ (Application) เป็นความสามารถในการนำหลักการ กฎเกณฑ์และวิธีดำเนินการต่างๆของเรื่องที่ได้รู้มา นำไปใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่ได้
4.       การวิเคราะห์ (Analysis) เป็นความสามารถในการแยกแยะเรื่องราวที่สมบูรณ์ให้กระจายออกเป็นส่วนย่อยๆได้อย่างชัดเจน
5.       การสังเคราะห์ (Synthesis) เป็นความสามารถในการผสมผสานส่วนย่อยเข้าเป็นเรื่องราวเดียวกัน โดยปรับปรุงของเก่าให้ดีขึ้นและมีคุณภาพสูงขึ้น

6.       การประเมินค่า (Evaluation) เป็นความสามารถในการวินิจฉัยหรือตัดสินกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดลงไป การประเมินเกี่ยวข้องกับการใช้เกณฑ์คือ มาตรฐานในการวัดที่กำหนดไว้

   องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้
อ้างถึง  ดอลลาร์ด และมิลเลอร์ (Dallard and Miller) เสนอว่าการเรียนรู้ มีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ
1                1.  แรงขับ (Drive) เป็นความต้องการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล เป็นความพร้อมที่จะเรียนรู้ของบุคคลทั้งสมอง ระบบประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อ แรงขับและความพร้อมเหล่านี้จะก่อให้เกิดปฏิกิริยาหรือพฤติกรรมที่จะชักนำไปสู่การเรียนรู้อย่างดีต่อไป
2                    2.  สิ่งเร้า (Stimulus) เป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้บุคคลมีปฏิกิริยาหรือพฤติกรรมตอบสนองออกมาในสภาพการเรียนการสอน สิ่งเร้าจะหมายถึงผู้สอน กิจกรรมการสอนและอุปกรณ์การสอนต่างๆ ที่ผู้สอนนำมาใช้
3                      3.  การตอบสนอง (Response) เป็นปฏิกิริยาหรือพฤติกรรมต่างๆ ที่แสดงออกมาเมื่อบุคคลได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้าทั้งส่วนที่สังเกตเห็นได้และส่วนที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ เช่น การเคลื่อนไหว ท่าทาง คำพูด การคิด การรับรู้ ความสนใจ และความรู้สึก เป็นต้น
4                      4.  การเสริมแรง (Reinforcement) เป็นการให้สิ่งที่มีอิทธิพลต่อบุคคลอันมีผลในการเพิ่มพลังให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองเพิ่มขึ้น การเสริมแรงมีทั้งทางบวกและทางลบซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้ของบุคคลเป็นอันมาก

ลำดับขั้นของการเรียนรู้
ในกระบวนการเรียนรู้ของเรานั้น จะประกอบด้วยขั้นตอนพื้นฐานที่สำคัญ 3 ขั้นตอนด้วยกัน กล่าวคือ
1                     1. ประสบการณ์ (experience) ในบุคคลปกติทุกคนจะมีประสาทรับรู้อยู่ด้วยกันทั้งสิ้น ส่วนใหญ่ที่เป็นที่เข้าใจก็คือ ประสาทสัมผัสทั้งห้า ซึ่งได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง ประสาทรับรู้เหล่านี้จะเป็นเสมือนช่องประตูที่จะให้บุคคลได้รับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ ถ้าไม่มีประสาทรับรู้เหล่านี้แล้ว บุคคลจะไม่มีโอกาสรับรู้หรือมีประสบการณ์ใด ๆ เลย ซึ่งก็เท่ากับเขาไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใดๆ ได้เลย    ประสบการณ์ต่างๆ ที่บุคคลได้รับนั้นย่อมจะแตกต่างกัน บางชนิดก็เป็นประสบการณ์ตรง บางชนิดเป็นประสบการณ์ทางอ้อม บางชนิดเป็นประสบการณ์รูปธรรมและบางชนิดเป็นประสบการณ์นามธรรม
1                         2. ความเข้าใจ (understanding) หลังจากบุคคลได้รับประสบการณ์แล้ว ขั้นต่อไปก็คือตีความหมายเป็นหลักการ(concept) ในประสบการณ์นั้น กระบวนการนี้เกิดขึ้นในสมองหรือจิตของบุคคลเพราะสมองจะเกิดสัญญาณ (percept) และมีความทรงจำ (retain) ขึ้นซึ่งเราเรียกกระบวนการนี้ว่า "ความเข้าใจ"ในการเรียนรู้นั้น บุคคลจะเข้าใจประสบการณ์ที่เขาประสบได้ก็ต่อเมื่อเขาสามารถจัดระเบียบ (organize) วิเคราะห์(analyze) และสังเคราะห์ (synthesis) ประสบการณ์ต่างๆ จนกระทั่งหาความหมายอันแท้จริงของประสบการณ์นั้นได้
1                         3. ความนึกคิด (thinking) ความนึกคิดถือว่าเป็นขั้นสุดท้ายของการเรียนรู้ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นในสมอง Crow (1948) ได้กล่าวว่า ความนึกคิดที่มีประสิทธิภาพนั้น ต้องเป็นความนึกคิดที่สามารถจัดระเบียบ (organize) ประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับให้เข้ากันได้ สามารถที่จะค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ทั้งเก่าและใหม่ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้เกิดความสมบูรณ์ของการเรียนรู้อย่างแท้จริง




N=Planning;

P=Generating;
U=producing
             N=Planning
การวางแผน ก็คือกระบวนการการกำหนดเป้าหมาย (Goals)ขององค์กร และวิธีการปฎิบัติ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ รวมทั้งแนวทางในการประสานกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรเข้าด้วยกัน ทำให้การดำเนินงานด้านต่างๆ ขององค์การเป็นไปอย่างราบรื่น และเข้าถึงเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
วิสัยทัศน์ ก็คือความมุ่งหมายที่องค์การต้องการจะได้รับในอนาคต การกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์กรจึงเป็นการกำหนดข้อความทั่วไป
พันธกิจ ก็คือภารกิจหลักที่แสดงความมุ่งมั่นว่าองกรณ์พยายามจะทำอะไรและจะสะท้อนให้ถึงขอบข่ายการดำเนินงาน
จุดม่งหมายของหลักสูตร ก็คือ ความตั้งใจหรือความคาดหวังที่ต้องการให้เกิดขึ้นในตัวผู้ที่จะผ่านหลักสูตรจุด มุ่งหมายของหลักสูตรมีความสำคัญเพราะเป็นตัวกำหนดทิศทางและขอบเขตในการศึกษา แก่เด็กช่วยในการเลือกเนื้อหาและกิจกรรม  ตลอดจนใช้เป็นมาตรการอย่างหนึ่งในการประเมินผล
P=Generating




                      ศ. น.พ.วิจารณ์  พานิชได้กล่าวว่า การศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่คนทุกคนต้องเรียนรู้ตั้งแต่ชั้นอนุบาลไปจนถึงมหาวิทยาลัย  และตลอดชีวิต คือ 3R x 7C
3R  ได้แก่ 
Reading (อ่านออก),
 (W)Riting (เขียนได้)  และ 
(A)Rithmetics (คิดเลขเป็น)
7C ได้แก่ Critical thinking & problem solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา)
Creativity & innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม)
Cross-cultural understanding (ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์)
Collaboration, teamwork & leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ)
Communications, information & media literacy (ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ)
Computing & ICT literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
Career & learning skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้)
ดังนั้นทักษะของคนต้องเตรียมคนออกไปเป็น knowledge worker โดยครูเพื่อศิษย์นั้นจะต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองโดยสิ้นเชิงเพื่อให้เป็น  “ครูเพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21” ไม่ใช่ครูเพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 20 หรือศตวรรษที่ 19 ที่เตรียมคนออกไปทำงานในสายพานการผลิตในยุคอุตสาหกรรม  การศึกษาในศตวรรษที่ 21 ต้องเตรียมคนออกไปเป็นคนทำงานที่ใช้ความรู้ (knowledge worker) และเป็นบุคคลพร้อมเรียนรู้ (learning person) ไม่ว่าจะประกอบ สัมมาชีพใด มนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ต้องเป็นบุคคลพร้อมเรียนรู้ และเป็น คนทำงานที่ใช้ความรู้  แม้จะเป็นชาวนาหรือเกษตรกรก็ต้องเป็นคนที่พร้อมเรียนรู้ และเป็นคนทำงานที่ใช้ความรู้ ดังนั้น ทักษะสำคัญที่สุดของศตวรรษ  ที่ 21 จึงเป็นทักษะของการเรียนรู้ (learning skills)
ครูเพื่อศิษย์เองต้องเรียนรู้ 3R x 7C  และต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต  แม้เกษียณอายุจากการเป็นครูประจำการไปแล้ว เพราะเป็นการเรียนรู้เพื่อชีวิตของตนเอง  ระหว่างเป็นครูประจำการก็เรียนรู้สำหรับเป็นครูเพื่อศิษย์  และเพื่อการดำรงชีวิตของตนเอง โดยย้ำว่าครูต้องเลิกเป็น “ผู้สอน” ผันตัวเองมาเป็นโค้ช หรือ facilitator ของการเรียนของศิษย์   ที่ส่วนใหญ่เรียนแบบ PBL  คือโรงเรียนในศตวรรษที่ ๒๑ ต้องเลิกเน้นสอน หันมาเน้นเรียน  เน้นทั้งการเรียนของศิษย์ และของครู
บทบาทของครูในศตวรรษที่ 21 
การศึกษาที่ดีสำหรับคนยุคใหม่นั้น ไม่เหมือนการศึกษาเมื่อสิบหรือยี่สิบปีที่แล้ว การศึกษาที่มีคุณภาพจะต้องเปลี่ยนรูปแบบการเรียนรู้ของศิษย์ไปอย่างสิ้นเชิง   และบทบาทของครูอาจารย์ก็ต้องเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง  ครูที่รักศิษย์  เอาใจใส่ศิษย์  แต่ยังใช้วิธีสอนแบบเดิม  ๆ  จะไม่ใช่ครูที่ทำประโยชน์แก่ศิษย์อย่างแท้จริง กล่าวคือ ครูที่มีใจแก่ศิษย์ยังไม่พอ ครูเพื่อศิษย์ต้องเปลี่ยนจุดสนใจหรือจุดเน้นจากการสอน ไปเป็นเน้นที่การเรียน (ทั้งของศิษย์ และของตนเอง) ต้องเรียนรู้และปรับปรุงรูปแบบการเรียนรู้ที่ตนจัดให้แก่ศิษย์ด้วย ครูเพื่อศิษย์ต้องเปลี่ยนบทบาทของตนเองจาก “ครูสอน” (teacher) ไปเป็น “ครูฝึก” (coach)หรือ “ผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้” (learning facilitator) และต้องเรียนรู้ทักษะในการท าหน้าที่นี้ โดยรวมตัวกันเป็นกลุ่มเพื่อเรียนรู้ร่วมกันอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องที่เรียกว่า PLC (Professional Learning community)(วิจารณ์ พานิช, 2555, คำนำ)
ครูในศตวรรษที่ 21 ต้องยึดหลักสอนน้อย เรียนมาก การเรียนรู้ในศตวรรษที่21 ต้องก้าวข้าสาระวิชา
ไปสู่การเรียนรู้ “ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑” ( 21st Century Skills) ที่ครูสอนไม่ได้ นักเรียนต้องเรียนเอง หรือพูดใหม่ว่าครูต้องไม่สอน แต่ต้องออกแบบการเรียนรู้ และอำนวยความสะดวก (facilitate) ในการเรียนรู้ ให้นักเรียนเรียนรู้จากการเรียนแบบลงมือทำ แล้วการเรียนรู้ก็จะเกิดจากภายในใจและสมองของตนเอง การเรียนรู้แบบนี้เรียกว่า PBL (Project-Based Learning)
ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ได้แก่
สาระวิชาหลัก
• ภาษาแม่ และภาษาโลก
• ศิลปะ• วิทยาศาสตร์
• ภูมิศาสตร์
• ประวัติศาสตร์
• คณิตศาสตร์
• เศรษฐศาสตร์
• รัฐ และความเป็นพลเมืองดี
 หัวข้อสำหรับศตวรรษที่ 21
• ความรู้เกี่ยวกับโลก
• ความรู้ด้านการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ
• ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองดี
• ความรู้ด้านสุขภาพ
• ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม
• ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม
• การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา
• การสื่อสารและการร่วมมือ
 ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี
• ความรู้ด้านสารสนเทศ
• ความรู้เกี่ยวกับสื่อ
• ความรู้ด้านเทคโนโลยี
ทักษะชีวิตและอาชีพ
• ความยืดหยุ่นและปรับตัว
• การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง
• ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม
• การเป็นผู้สร้างหรือผลิต (productivity) และความรับผิดรับชอบเชื่อถือได้ accountability)
• ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ (responsibility)
นอกจากนั้นโรงเรียนและครูต้องจัดระบบสนับสนุนการเรียนรู้ต่อไปนี้
• มาตรฐานและการประเมินในยุคศตวรรษที่ 21
• หลักสูตรและการเรียนการสอนสำหรับศตวรรษที่ 21
• การพัฒนาครูในศตวรรษที่ 21
• สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเรียนในศตวรรษที่ 21







































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น